เมนู

กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ได้มีมาแล้ว 1
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่ได้มีมาแล้ว 1
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ยังมีอยู่ 1
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่มีอยู่ 1
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักมีมา 1
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักไม่มีมา 1
กรรมมีอยู่ กรรมวิบากมีอยู่ 1
กรรมมีอยู่ แต่กรรมวิบากไม่มี 1
กรรมมีอยู่ กรรมวิบากจักมีมา 1
กรรมมีอยู่ แต่กรรมวิบากจักไม่มีมา 1
กรรมก็จักมี กรรมวิบากก็จักมี 1
กรรมจักมีมา แต่วิบากกรรมจักไม่มี 1

อธิบายกรรม 12 อย่าง ตามแนวแห่งปฏิสัมภิทามรรค


บรรดากรรม 12 อย่างนั้น กรรมที่บ่ระมวลมาในอดีต ได้วาระ
แห่งผลในอดีตนั่นเอง ที่จะให้เกิดปฏิสนธิก็ให้เกิดปฏิสนธิแล้ว ส่วนที่จะให้
เกิดรูป ก็สามารถให้เกิดรูปขึ้น ท่านกล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม
ได้มีมาแล้ว
.
ส่วนกรรมที่ไม่ได้วาระแห่งวิบาก ที่จะให้ปฏิสนธิ ก็ไม่สามารถจะ
ให้เกิดปฏิสนธิได้ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็ไม่สามารถจะให้เกิดรูปได้ ท่าน
กล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่ได้มีมาแล้ว.
ส่วนกรรมที่ประมวลมาแล้วในอดีต ได้วาระแห่งผลในปัจจุบันแล้ว
ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็ให้เกิดปฏิสนธิแล้ว หรือที่จะให้เกิดรูป ก็ให้เกิดรูปแล้ว
ตั้งอยู่ ท่านกล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ยังมีอยู่.

ส่วนกรรมที่ไม่ได้วาระแห่งวิบาก ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็ไม่สามารถ
จะให้เกิดปฏิสนธิได้ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็ไม่สามารถให้เกิดรูปได้ ท่าน
กล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่มีอยู่.
ส่วนกรรมที่ประมวลมาในอดีตกาล จักได้วาระแห่งวิบากในอนาคต
ที่ให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักสามารถให้ปฏิสนธิ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักสามารถ
ให้เกิดรูป ท่านกล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักมีมา.
ส่วนกรรมที่จักไม่ได้วาระแห่งวิบากในอนาคต ที่ให้เกิดปฏิสนธิ
ก็จักไม่สามารถให้เกิดปฏิสนธิได้ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักไม่สามารถให้เกิด
รูปได้ ท่านกล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักไม่มีมา.
ส่วนกรรมที่ประมวลมาในปัจจุบัน และจะได้วาระแห่งวิบากใน
ปัจจุบันเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า กรรมมีอยู่ กรรมวิบากก็มีอยู่.
ส่วนกรรมที่ไม่ได้วาระแห่งวิบากในปัจจุบัน ท่านกล่าวว่า กรรมมี
แต่กรรมวิบากไม่มี
.
ส่วนกรรมที่ประมวลมาในปัจจุบัน แต่จักได้วาระแห่งวิบากในอนาคต
ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักสามารถให้เกิดปฏิสนธิ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักให้
เกิดรูป (ในอนาคต ) ได้ ท่านกล่าวว่า กรรมมีอยู่ กรรมวิบากก็จักมีมา.
ส่วนกรรมที่จักไม่ได้วาระแห่งวิบาก ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักไม่
สามารถให้เกิดปฏิสนธิได้ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักไม่สามารถให้เกิดรูป
(ในอนาคต) ได้ ท่านกล่าวว่า กรรมมีอยู่ แต่ผลกรรมจักไม่มีมา.
ส่วนกรรมที่จักประมวลมาในอนาคต จักได้วาระแห่งวิบากในอนาคต
เหมือนกัน ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักให้เกิดปฏิสนธิ หรือที่จะให้เกิดรูป
ก็จักให้เกิดรูป ท่านกล่าวว่า กรรมก็จักมี กรรมวิบากก็จักมี.

ส่วนกรรมที่จักไม่ได้วาระแห่งวิบาก ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักไม่
สามารถให้เกิดปฏิสนธิ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักไม่สามารถให้เกิดรูปได้ ท่าน
กล่าวว่า กรรมจักมีมา แต่กรรมวิบากจักไม่มี.
ตามปริยายแห่งปฏิสัมภิทามรรค ท่านจำแนกกรรมไว้ 12 อย่าง
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
กรรม 12 อย่างเหล่านี้ก็ดี กรรม 16 อย่างข้างต้นก็ดี ที่จำแนก
ไว้แล้ว ย่อจากฐานะของตนลงมา กล่าวโดยปริยายแห่งสุตตันตะ จะมี 11
อย่างเท่านั้น. ถึงกรรมเหล่านั้น ย่อจากกรรม 11 อย่างนั้นแล้ว จะเหลือเพียง
3 อย่างเท่านั้น คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม 1 อุปปัชเวทนียกรรม 1
อปรปริยายเวทนียกรรม 1
กรรมเหล่านี้ไม่มีการก้าวก่ายกัน ย่อมตั้งอยู่
ในฐานะของตนอย่างเดียว.
เพราะว่า ถ้าหากทิฏิธรรมเวทนียกรรม กลายเป็นอุปปัชช-
เวทนียกรรม
หรืออปรปริยายเวทนียกรรมไปไชร้ พระศาสดาคงไม่ตรัสว่า
ทิฏฺเฐว ธมฺเม (ในปัจจุบันนี้เท่านั้น). แม้ถ้าว่า อุปปัชชเวทนียกรรม
จักกลายเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หรืออปรปริยายเวทนียกรรมไปไซร้
พระศาสดาคงไม่ตรัสว่า อุปปชฺเช วา (ในภพที่จะเกิดขึ้น). อนึ่ง หาก
อปรปริยายเวทนียกรรม จะกลายเป็นทิฏิธรรมเวทนียกรรม หรือ
อุปปัชชเวทนียกรรมไป พระศาสดาก็คงไม่ตรัสว่า อปเร วา ปริยาเย
(หรือในปริยายภพต่อไป). แม้ในสุกปักษ์ (กุศลกรรม) พึงทราบความโดยนัย
นี้เหมือนกัน.
และพึงทราบวินิจฉัยในธรรมที่เป็นสุกปักษ์ ดังต่อไปนี้ บทว่า โลเภ
วิคเต
ความว่า เมื่อความโลภปราศไปแล้ว คือ ดับแล้ว. บทว่า ตาลวตฺถุกตํ

ความว่า ทำให้เป็นเหมือนต้นตาล. อธิบายว่า ทำให้ไม่งอกขึ้นมาอีก เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดยอดแล้ว. บทว่า อนภาวํ กตํ ความว่า กระทำไม่ให้มีใน
ภายหลัง อธิบายว่า กระทำโดยไม่ให้เกิดขึ้นอีก. บทว่า เอวสฺสุ ความว่า
พึงเป็นอย่างนั้น.
พึงทราบข้อเปรียบเทียบ ในบทว่า เอวเมว โข ดังต่อไปนี้
กุศลกรรม และอกุศลกรรม พึงเห็นเหมือนพืช พระโยคาวจร พึงเห็นเหมือน
บุรุษเอาไฟเผาพืชเหล่านั้น. มัคคญาณ พึงเห็นเหมือนไฟ. เวลาที่กิเลสถูก
มัคคญาณเผาไหม้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่จุดไฟเผาพืช. เวลาที่พระโยคาวจร
ทำรากของขันธ์ 5 ให้ขาดแล้วดำรงอยู่ พึงเห็นเหมือนเวลาที่บุรุษเผาพืช
ให้เป็นเขม่า. เวลาที่พระขีณาสพ ไม่ถือปฏิสนธิในภพใหม่ เพราะดับขันธ์
โดยที่ขันธ์ 5 ซึ่งมีรากขาดแล้ว ไม่ปฏิสนธิต่อไป เพราะดับความสืบต่อแห่ง
อุปาทินนกสังขารได้แล้ว พึงทราบเหมือนเวลาที่พืชถูกเขาโปรยไปที่ลมแรง
หรือลอยไปในแม่น้ำ ทำให้ไม่หวนกลับมาได้อีก.
บทว่า โมหชํ วาปิ วิทฺทสุ1 ความว่า ผู้ไม่รู้ (ทำกรรม) แม้ที่
เกิดแต่โมหะ มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ ดังนี้ว่า เขาไม่รู้ คือ เป็นอันธพาล
ทำกรรมที่เกิดแต่โลภบ้าง เกิดแต่โทสะบ้าง เกิดแต่โมหะบ้าง กรรมใดที่เขา
กระทำอยู่เช่นนี้ กระทำแล้ว น้อยก็ตาม มากก็ตาม. บทว่า อิเธว ตํ เวทนียํ
ความว่า กรรมนั้นเป็นกรรมที่คนพาลนั้น จะพึงได้เสวยในโลกนี้ คือ ใน
อัตภาพของตนนี้แหละ อธิบายว่า กรรมนั้นจะให้ผลในอัตภาพของเขานั่น
แหละ.2
1. ปาฐะว่า โมหชํ วาปิ วิทฺทสุ ในบาลีและฉบับพม่าเป็น โมหชญฺจาปิวิทฺทสุ.
2. ปาฐะว่า ตสฺเสว อตฺตภาเว จ วิปจฺจติ ฉบับพม่าเป็น ตสฺเสว ตํ อตฺตภาเว วิปจฺจติ
แปลตามฉบับพม่า.

บทว่า วตฺถุํ อญฺญํ น วิชฺชติ ความว่า ไม่มีสิ่งอื่นเพื่อประโยชน์
แก่การรับผลของกรรมนั้น. เพราะกรรมที่คนหนึ่งทำไว้ จะให้ผลในอัตภาพ
ของอีกคนหนึ่งไม่ได้.1
บทว่า ตสฺมา โลภญฺจ โทสญฺจ โมหญฺจาปิ วิทฺทสุ ความว่า
เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเป็นผู้รู้ คือเป็นผู้มีปัญญา ได้แก่เป็นบัณฑิต ย่อมไม่
ทำกรรมนั้นแยกประเภท มีกรรมเกิดแต่ความโลภเป็นต้น ภิกษุนั้น ผู้ยังวิชชา
ให้เกิดขึ้นอยู่ พึงละทุคติทุกอย่างได้ คือ เมื่อทำวิชชาคือพระอรหัตมรรค
ให้เกิดขึ้น จะละทุคติทุกอย่างได้. นี้เป็นหัวข้อ (ตัวอย่าง) แห่งเทศนาเท่านั้น
ส่วนพระขีณาสพนั้น แม้สุคติก็ละได้ทั้งนั้น. แม้ในคำที่ตรัสไว้ว่า ตสฺมา
โลภญฺจ โทสญฺจ
ดังนี้ พึงทราบว่า ทรงแสดงถึงกรรมที่เกิดแต่โลภะ
และเกิดแต่โทสะเหมือนกัน โดยหัวข้อ คือ โลภะ และโทสะ ทั้งในพระสูตร
ทั้งในพระคาถา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะไว้ โดย
ประการดังกล่าวมาแล้วนี้แล.
จบอรรถกถานิทานสูตรที่ 4
1. ปาฐะว่า น หิ อญฺเญน กตํ กมฺมํ น อญฺญส อตฺตภาเว วิปจฺจติ ฉบับพม่าเป็น น หิ
อญฺเญน กตํ กมฺมํ อญฺญสฺส อตฺตภาเว วิปจฺจติ.

5. หัตถกสูตร



ว่าด้วยผู้มีความสุขแท้



[474] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนลาดใบไม้ใน
ป่าสิงสปาวัน ใกล้ทางโค ในแคว้นอาฬวี ครั้งนั้น เจ้าชายหัตถกะ
อาฬวกะ
ทรงดำเนินด้วยพระบาทเที่ยวมา ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้า
ประทับนั่งบนลาดใบไม้ ในป่าสิงสปาวัน ใกล้ทางโค ครั้นแล้ว
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง เจ้าชายหัตถกะ อาฬวกะ ผู้ประทับนั่ง
ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรทมเป็นสุขอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า ?
พ. อย่างนั้น เจ้าชาย ตถาคตนอนเป็นสุข บรรดาคนที่นอนเป็นสุข
ในโลก ตถาคตเป็นคนหนึ่ง
หัตถกะ. พระพุทธเจ้าข้า ราตรีฤดูเหมันต์ (นี่ก็) หนาว หน้าอันต
รัฏฐกะ (นี่ก็) เป็นคราวหิมะตก พื้นดินก็เป็นรอยโคขรุขระ ลาดใบไม้ก็บาง
(ร่ม)ใบต้นไม้ก็โปร่ง ผ้ากาสายะก็เย็น ทั้งลมเวรัมพวาตอันเย็นก็พัดมา กระนี้
แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้ายังรับสั่งว่า อย่างนั้นเจ้าชาย ตถาคตนอนเป็นสุข
บรรดาคนที่นอนเป็นสุขในโลก ตถาคตเป็นคนหนึ่ง.
พ. เจ้าชาย ถ้ากระนั้น ตถาคตจักย้อนถามท่านในข้อนี้ พอพระทัย
อย่างใด พึงทรงตอบอย่างนั้น ท่านจะทรงสำคัญว่ากระไร ? เจ้าชายมีเรือน